top of page

Work-Life Balance คืออะไร? มีอยู่จริงไหม?


Work-Life Balance

เคยไหม ทำงานหนักจนลืมดูแลตัวเองและรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง?


Work-Life Balance ถือเป็นอีก 1 สิ่งที่มนุษย์วัยทำงานหลาย ๆ คนใฝ่ฝัน เพราะการมี Work-Life Balance ทำให้เราสามารถจัดการระเบียบชีวิตได้ โดยที่เราสามารถทำงานไปด้วย และยังมีเวลาได้พักผ่อน อย่างเช่น ไปเที่ยวกับครอบครัว เพื่อน หรือทำงานอดิเรกของตัวเอง 


แต่ปัจจุบันหลาย ๆ คนไม่สามารถมีชีวิตที่เป็น Work-Life Balance ได้ ด้วยการงานที่อาจจะหนักมากขึ้นจากวิกฤตการณ์โควิด-19 หรือสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง จนต้องพยายามหนักขึ้น ซึ่งการทำงานหนักนั้น ไม่ได้มีข้อดีเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลเสียให้กับสุขภาพกาย สุขภาพจิต และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย


ซึ่งการมี Work-Life Balance นั้นมันส่งผลถึงการมี Well-being Workplace หรือการมีสุขภาวะอยู่ดีมีสุขในการทำงาน ซึ่งก็ตรงกับการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนตามแนวทาง SDGs (Sustainable Development Goals) ในเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันเราได้มีการนำ SDGs เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน หรือช่วยในการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable HR) 


ดร.ทรรศวรรณ ปรีดาวิภาต (โค้ชเม้ง) กรรมผู้จัดการบริษัท บริษัท Entrepreneurship Plus ผู้ซึ่งได้นำหลักสูตร Doing to Done ลงมือทำเพื่อความสำเร็จเข้ามาในประเทศไทย ได้พูดถึงการนำเข้าเครื่องมือนี้เข้ามา เพราะว่าเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะช่วยสร้างความสำเร็จและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความ Productive แบบง่าย ๆ และรวดเร็ว ซึ่งหลักสูตรนี้ให้ความสำคัญกับการลงมือทำเพื่อเป้าหมายเล็ก ๆ ให้สำเร็จแบบ Small Win และพร้อมที่จะสร้างความสุขทั้งชีวิตงานและส่วนตัว พัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น 


ซึ่งเราสามารถจัดการ Work-Life (ไร้) Balance ง่ายๆ ด้วยการนำเครื่องมือในหลักสูตร Doing to Done มาช่วยจัดการระเบียบชีวิต เพื่อสร้างความสมดุลในชีวิตได้ ดังนี้


1.รับรู้บทบาทของตัวเอง เพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง


Work-Life Balance

บางครั้งการที่เราลืมให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว แฟน เพื่อน ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากการที่เราลืมบทบาทนั้น ๆ ของตัวเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วคนเรามีหลายบทบาทมาก และหลายคนอาจจะไม่ได้นึกถึงถึงบทบาทนั้นก็ได้ โดยในหลักสูตร Doing to Done ก็มีเครื่องมืออย่าง The role clarity map ที่ช่วยให้รับรู้บทบาทของตัวเอง และทำให้รู้ถึงวัตถุประสงค์ของบทบาทนั้น และยังทำให้เราสามารถเห็นภาพของบทบาทนั้น จนทำให้บรรลุเป้าหมายของแต่ละบทบาทได้ ซึ่งสิ่งนี้ก็จะช่วยให้เราไม่ลืมบทบาทของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของลูกชาย บทบาทของสามี บทบาทของเพื่อนที่รัก ก็จะทำให้นำบทบาทนั้นไปปรับใช้ ไม่ว่าจะคอยดูแลครอบครัว คอยเอาใจใส่ภรรยา หรือใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อนสนิท สิ่งนี้ถือเป็น Work-Life Balance อย่างหนึ่งที่ทำให้เราไม่ทำงานจนเครียดเกินไป และยังได้ใส่ใจคนรอบข้าง


2. เปลี่ยนสิ่งที่ทำให้หัวหมุน เป็น Checklists


Work-Life Balance

หลาย ๆ คนอาจจะเคยประสบปัญหางานเยอะจนไม่รู้ว่าจะเริ่มงานไหนก่อน จนคิดมาก และกังวล เกิดการผัดวันประกันพรุ่ง จนเกิดปัญหางานไม่เสร็จตาม Deadline หรืองานออกมาไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัญหาเหล่านี้สามารถจัดการได้ถ้าเราดึงเครื่องมืออย่าง Brain Sweep เข้ามาจัดระบบชีวิตให้เป็นระเบียบมากขึ้น โดยการจับเวลาทั้งหมด 5 นาที และเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวทั้งหมดออกมา มันจะทำให้เราเห็นความคิดทั้งหมดที่อยู่ในหัวของเรา ไม่ว่าจะเป็นงานที่ต้องส่ง หรือนัดสำคัญ จากนั้นเราก็นำสิ่งที่เราได้มา มาเรียงลำดับและทำเป็น Checklist ไว้ ซึ่งเราจะทำในอุปกรณ์ไหนก็ได้ สิ่งนี้มันก็จะทำให้เราสามารถจัดการชีวิตให้เป็นระบบ และทำงานถึงเป้าหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


บทสรุป

การไม่มี Work-Life Balance ส่งผลทำให้เราเสียทั้งสุขภาพกาย จากการทำงานที่มากเกินไป จนไม่มีเวลาพักผ่อนหรือได้ดูแลตัวเอง สุขภาพจิตที่เสียไปจากความเครียดและความวิตกกังวล และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ก็อาจจะเริ่มหายไป ทำให้เราควรที่จะรักษาสมดุลชีวิตอยู่เสมอ หลักสูตร Doing to Done ถือว่าเป็นหลักสูตรที่มาตอบโจทย์และแก้ปัญหาสำหรับคนที่ไม่มี Work-Life Balance และยังช่วยส่งเสริม Well-being Workplace ซึ่งถ้าเรานำไปปรับใช้ในองค์กร ก็จะสามารถนำองค์กรนั้น บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (the Sustainable Development Goals) ได้

Comments


bottom of page